วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โครงการ NGO.FROC

โครงการ NGO.FROC
ประชารวมใจช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม




๑. หลักการและเหตุผล
          สืบเนื่องจากในขณะนี้ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะวิกฤตการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในเขตภัยพิบัติต่างๆ ต้องได้รับความเดือดร้อนโดยเฉพาะการขาดแคลนปัจจัยสี่เป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร ตลอดจนภาคประชาชนต่างระดมสรรพกำลังในการร่วมกันเยียวยาแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนภายใต้ระยะเวลาและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้
            ด้วยเหตุดังกล่าว คณะกรรมการโครงการให้ความรู้ความเข้าใจพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐   ภาคสถาบันการศึกษา องค์การความมั่นคงทางอินเทอร์เน็ต สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมและภาคประชาชน จึงเล็งเห็นความสำคัญต่อปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวของประชาชน จึงได้จัดโครงการ ประชาร่วมใจช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมหรือ“NGO.FROC”ขึ้น
๒. วัตถุประสงค์
          ๑. เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟู ผู้ประสบอุทกภัยในเขตภัยพิบัติต่างๆ
            ๒. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาชน
            ๓. เพื่อประชาสัมพันธ์ถึงบทบาทหน้าที่ของ“NGO.FROC” ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง“NGO.FROC”และประชาชน
๓. ระยะเวลาดำเนินการ
            ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
๔. เป้าหมายโครงการ
          ๑. ดำเนินการจัดหาปัจจัยสี่เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูให้แก่ผู้ประสบภัย
            ๒. ดำเนินการให้บริการรับฟังเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนผู้ประสบอุทกภัย
๕. งบประมาณโครงการ
          ใช้งบประมาณจากเงินที่ได้รับบริจาค จำนวนทั้งสิ้น 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑.     จัดทำเวบไซต์และดำเนินการสื่อสารในโซเชี่ยลมีเดียเพื่อรับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชน
๒.     ดำเนินการสื่อสารในโซเชี่ยลมีเดียเพื่อหาผู้ที่มีความประสงค์จะช่วยเหลือประชาชน ทั้งแบบให้ปล่าวและแบบมีเงื่อนไข
๓.     จัดตั้งชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจเพื่อปฏิบัติการเองในกรณีฉุกเฉิน
๔.     จัดตั้งชุดปฏิบัติการเพื่อสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนให้แก่ประชาชน
๖. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          ๑. สามารถบรรเทาปัญหาการขาดปัจจัยสี่ของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
            ๒. คณะกรรมการโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
            ๓. ประชาชนผู้ได้รับอุทกภัยได้มีความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของโครงการประชาร่วมใจช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมหรือ“NGO.FROC”ที่มีต่อประชาชน
๗. ตัวชี้วัดโครงการ
          ๑.ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ และประชาชนผู้รับการบริการจากโครงการ
            .จำนวนประชาชนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูจากโครงการ
๘. การติดตามและประเมินผล
            ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ และประชาชนผู้ได้รับการบริการจากโครงการ
๙. ผู้รับผิดชอบโครงการ
            คณะกรรมาการโครงการประชาร่วมใจช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมหรือ“NGO.FROC”ขึ้น